ประเพณีการกวนข้าวอาซูรอ
ประวัติความเป็นมา
การกวนข้าวอาซูรอ หรือการกวนขนมอาซูรอ
สืบเนื่องมาแต่สมัยนบีนุฮฺ(อล) สมัยนั้นเกิดภาวะน้ำท่วมใหญ่ยังความเสียหายให้แก่ทรัพย์สินไร่นาของประชาชนทั่วไป
บรรดาสาวกของนบีนุฮฺ(อล) และคนทั่วไปขาดอาหาร
นบีนุฮฺ(อล)จึงประกาศให้ผู้ที่มีสิ่งของเหลือพอจะรับประทานได้ ให้เอามากองรวมกัน
เนื่องจากต่างคนต่างมีกันคนละอย่างไม่เหมือนกัน นบีนุฮ(อล)ให้เอาของเหล่านั้นมากวนเข้าด้วยกัน
ในที่สุดสาวกของท่านก็ได้รับประทานอาหารทั่วกันและเหมือนกัน
ในสมัยนบีมุฮัมมัด(ศ็อลฯ)
เหตุการณ์ทำนองเดียวกันนี้เกิดขึ้นอีก ขณะที่กองทหารของท่านกลับจากการรบที่
"บาดัร” ปรากำว่าทหารมีอาหารไม่พอกิน ท่านสมัยนบีมุฮัมมัด(ศ็อลฯ) จึงใช้วิธีการของนบีนุฮฺ(อล)
โดยให้ทุกคนเอาข้าวของที่รับประทานได้มากวนเข้าด้วยกันแล้วแบ่งกันรับประทานในหมู่ทหารทั้งปวง
ประเพณีดังกล่าวจึงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
ความสำคัญ
การกวนข้าวอาซูรอ
(ขนมอาซูรอ) เป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
คำว่า "อาซูฃรอ” เป็นภาษาอาหรับ หมายถึงวันที่ ๑๐ ของเดือนมูฮรอม
อันเป็นเดือนแรกของปฏิทินอาหรับ ซึ่งเป็นเดือนทางศักราชอิสลาม
มีรากศัพท์มาจากภาษาอาหรับ แปลว่า การผสมหรือรวมกัน หมายถึง
คือการนำสิ่งของที่รับประทานได้หลายสิ่งหลายอย่างมารวมกัน มีทั้งชนิดคาวและชนิดหวาน
การกวนอาซูรอมิได้เป็นพิธีกรรมหรือศาสนกิจที่บังคับให้ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามต้องปฏิบัติ
แต่เป็นกิจกรรมที่ปฏิบัติเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต
การกวนข้าวอาซูรอจะใช้คนในหมู่บ้านมาช่วยกันคนละไม้คนละมือ
เพื่อความสามัคคีและสร้างความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
อันมีผลต่อการอยู่ร่วมกันของสังคมอย่างมีความสุข
ก่อนจะแจกจ่ายให้คนทั่วไปรับประทานกัน
การกวนอาซูรอ หรือประเพณีทำบุญอาซูเราะ
จัดให้มีในวันที่ ๙-๑๐ ของเดือนมุหัรร็อม (เป็นเดือนที่ ๑ ตามปฏิทินอิสลาม)
จะนิยมให้มีขึ้นในฤดูกาลที่ว่างเว้นจากการทำนา ทำไร่
เป็นวันทำบุญร่วมกันทั้งหมู่บ้าน โดยจะไปทำกันที่มัสยิด
เป็นกิจกรรมที่ทำขึ้นเพื่อแสดงออกถึงความศรัทธาของมุสลิมที่มีต่อพระเจ้า
ปรุงอาหารที่มีของสดและของแห้งมารวมกัน อาจเป็นพวกเผือก มัน ฟักทอง กล้วย
หรือข้าวโพดก็ได้ สิ่งสำคัญคือต้องเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
อาหารชนิดใหม่นี้เรียกว่า "ฮาราล” เป็นอาหารที่ศาสดาอนุมัติให้รับประทานได้
เมื่อปรุงเสร็จแล้วจึงนำมาแจกจ่ายให้ทุกคนรับประทาน
ประเพณีนี้ได้ให้คุณค่าทางด้านการระลึกถึงคุณงามความดีของท่านนบีนุห์
คุณค่าทางด้านความสามัคคี และคุณค่าทางด้านการรักษาประเพณีอันดีงามทางศาสนาเอาไว้
พิธีกรรมอาซูรอ
การกวนข้าวอาซูรอ
เริ่มด้วยการที่เจ้าภาพประกาศเชิญชวนนัดหมายให้ชาวบ้านทราบว่า
จะมีการกวนข้าวอาซูรอกันที่ไหน เมื่อใด เมื่อถึงกำหนดนัดหมาย
ชาวบ้านก็จะนำอาหารดิบ เช่น เผือกมัน ฟักทอง มะละกอ กล้วย ข้าวสาร ถั่ว เป็นต้น
มารวมเข้าด้วยกันแล้วปอกหั่น ตัดให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย จากนั้นนำเครื่องปรุง
เช่น ข่า ตะไคร้ หอม กระเทียม ผักชี ยี่หร่า เกลือ น้ำตาล กะทิ เป็นต้น
มาเป็นเครื่องผสม โดยหั่นตัดให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ เช่นเดียวกัน
สำหรับกะทิจะคั้นเฉพาะนำมาผสม ก่อนจะแจกจ่ายอาซูรอให้รับประทานกัน
มีพิธีกรรมเชิญบุคคลที่นับถือของขุมชน เช่น อิหม่าม
โต๊ะครูหรือบุคคลที่ได้ศึกษาด้านศาสนาขั้นสูงสุดของชุมชน ขึ้นมากล่าวขอพร (ดูอา)
ก่อน แล้วจึงแจกจ่ายให้คนทั่วไปรับประทานกัน
ประโยชน์ของภูมิปัญญา
๑. ใช้เป็นอาหารเหมาะกับการจัดงานต่าง
ๆ แต่ขนมอาซูรอจะนิยมทำในเดือนมูฮัรรอมทางศาสนาอิสลาม
๒. เหมาะกับการจัดงานที่ใหญ่โต
เพราะขนมอาซูรอจะทำแต่ละครั้งต้องอาศัยผู้คนมากทำครั้งเดียวแต่รับประทานกันหลายคน
๓. จากการจัดกิจกรรมนี้ (ขนมอาซูรอ)
ทำให้ประชาชนในหมู่บ้านเกิดความสมัครสมานสามัคคีขึ้น
ประเพณีการกวนขนมอาซูรอกับความเชื่อ
เริ่มด้วยการที่เจ้าภาพประกาศเชิญชวนนัดหมายให้ชาวบ้านทราบว่าจะมีการกวนข้าวอาซูรอกันที่ไหน
เมื่อใด เมื่อถึงกำหนดนัดหมายชาวบ้านก็จะนำอาหารดิบอันเป็นเครื่องปรุงชนิดต่าง ๆ
มารวมกัน เมื่อเสร็จแล้วจะกล่าวขอพรพระเจ้าแล้วจึงแบ่งขนมไปกินกัน
ขนมอาซูรอจะแบ่งเป็น ๒ ประเภทคือ ของคาวและของหวาน เครื่องปรุงของคาวได้แก่
เนื้อไก่ แป้ง เกลือ มัน พริกไทย กะทิ และเครื่องสมุนไพรอื่น ๆ แล้วแต่สูตรของแต่
ละแห่ง ส่วนของหวานจะประกอบด้วย แป้ง กะทิ น้ำตาล ผลไม้ตามฤดูกาล เช่นข้าวโพด มัน
กล้วย ลำไย ฟักทอง ถั่วดำ ข้าวเหนียวดำ ฯลฯ โดยจะนำของทุกอย่างมารวมกันในกระทะใบใหญ่แล้วกวนโดยใช้ไม้กวน
เพื่อให้สิ่งของทุกอย่างเปื่อยยุ่ยเข้าเป็นเนื้อเดียวกันใช้เวลากวนไม่ต่ำกว่า ๕
ชั่วโมง
กวนให้งวดเป็นเนื้อเดียวกันตักใส่ถาดตกแต่งหน้าให้สวยรอให้เย็นแล้วตัดแจกจ่ายแบ่งปันกันอย่างทั่วถึง
ขนม "อาซูรอ" 1 ปีมีกินครั้งเดียว |
01-09-63 | ตะลอนข่าว
อ้างอิง https://www.m-culture.go.th/phatthalung/ewt_news.php?
ที่มา https://www.m-culture.go.th/phatthalung/ewt_news.php?nid=3303&filename=index