ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 1

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 1
ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ (Online Learning Management System)
 


   อาจารย์มอบหมายให้นักศึกษาแต่ละคนสร้างและพัฒนาเว็บบล็อกเดิมที่มีอยู่แล้ว และให้สรุปผลการเรียนรู้ประจำ บทที่ 1 

          โดยสรุปดังนี้ การเรียน คือ การได้รับความรู้ พฤติกรรม ทักษะ คุณค่า และเป็นสิ่งแปลกใหม่หรือปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ การเรียนรู้อาจมีการยึดเป้าหมาย

            การสอน หมายถึง การถ่ายทอดเนื้อหาวิชาหรือเป็นวิธีการหลากหลาย ที่ครูหรือผู้สอนนำมาใช้เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้

          การเรียนการสอน เป็นการได้รับความรู้ พฤติกรรม ทักษะ คุณค่า หรือความพึงพอใจที่เป็น สิ่งแปลกใหม่ ด้วยวิธีการถ่ายทอด หรือ วิธีการสอนที่หลากหลายรูปแบบ 

      ลักษณะของการจัดการเรียนรู้  

การจัดการเรียนรู้มีลักษณะที่เด่นชัดอยู่ 3 ลักษณะ

              1. การจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน

              2. การจัดการเรียนรู้มีจุดประสงค์ให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่                             กำหนดไว้ มี 3 ด้าน

                    1 ด้านความรู้ความคิด หรือด้านพุทธิพิสัย

                    2 ด้านทักษะกระบวนการ หรือด้านทักษะพิสัย

                    3 ด้านเจตคติหรือด้านจิตพิสัย 

               3. การจัดการเรียนรู้จะบรรลุจุดประสงค์ได้ดีต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ของ ผู้สอน

        องค์ประกอบของระบบการเรียนการสอน 

          1. ตัวป้อน ( Input ) คือ ส่วนประกอบต่าง ๆ ที่นำเข้าสู่ระบบได้แก่ ผู้สอน ผู้เรียน หลักสูตร

          2. กระบวนการ (Process)  การดำเนินการสอน ได้แก่ การตรวจสอบและเสริมพื้นฐาน ความพร้อมในการเรียน การใช้เทคนิคการสอนต่าง ๆ 

          3. ผลผลิต (Output) ผลที่เกิดขึ้นหรือเป้าหมายปลายทางของระบบ เป็นการพัฒนาในด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย 

                         ทฤษฎีระบบการเรียนการสอน: ทฤษฎีการเรียนร้ ู(Learning Theories) 

              กลุ่มสังคมนิยม เน้นการเรียนรู้จากคนอื่น ๆ และเครือข่ายในสังคม ความรู้ไม่ได้เกิดเพียงเฉพาะ             ผู้เรียนเท่านั้น แต่เกิดจากสังคมที่มีการ แลกเปลี่ยน การทํางานร่วมกัน และเกิดการสังเกตและเรียนรู้

               กลุ่มประสบการณ์นิยม เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ ได้เผชิญและลงมือปฏิบัติ โดยใช้                     ประสบการณ์เดิมเป็นฐาน 

             กลุ่มสร้างสรรค์ความรู้ เน้นกระบวนการเชื่อมโยงความรู้เดิม สร้าง ความรู้ใหม่ของผู้เรียนเอง                ด้วยกระบวนการทางปัญญาของผู้เรียนเอง และกําหนดเป้าหมายการเรียนรู้ 

  กลุ่มปัญญานิยม เน้นกระบวนการสร้างองค์ความรู้เกิดจาก กิจกรรมทางสมองและการคิด เช่นความจํา แรงจูงใจ การคิดและ การตอบสนอง การถ่ายโอนความรู้จากผู้เชี่ยวชาญสู่ผู้เรียน

            กลุ่มพฤติกรรมนิยม เน้นการสร้างสถานการณ์เงื่อนไขเพื่อให้ ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมตอบสนอง             การตอบสนองเป็นการเรียนรู้

1 ความคิดเห็น:

ประเพณีการกวนข้าวอาซูรอ

ประเพณีการกวนข้าวอาซูรอ ประวัติความเป็นมา           การกวนข้าวอาซูรอ หรือการกวนขนมอาซูรอ สืบเนื่องมาแต่สมัยนบีนุฮฺ(อล) สมัยนั้นเกิดภาวะน้ำท่...