ประเพณีการกวนข้าวอาซูรอ

ประเพณีการกวนข้าวอาซูรอ



ประวัติความเป็นมา

          การกวนข้าวอาซูรอ หรือการกวนขนมอาซูรอ สืบเนื่องมาแต่สมัยนบีนุฮฺ(อล) สมัยนั้นเกิดภาวะน้ำท่วมใหญ่ยังความเสียหายให้แก่ทรัพย์สินไร่นาของประชาชนทั่วไป บรรดาสาวกของนบีนุฮฺ(อล) และคนทั่วไปขาดอาหาร นบีนุฮฺ(อล)จึงประกาศให้ผู้ที่มีสิ่งของเหลือพอจะรับประทานได้ ให้เอามากองรวมกัน เนื่องจากต่างคนต่างมีกันคนละอย่างไม่เหมือนกัน นบีนุฮ(อล)ให้เอาของเหล่านั้นมากวนเข้าด้วยกัน ในที่สุดสาวกของท่านก็ได้รับประทานอาหารทั่วกันและเหมือนกัน

          ในสมัยนบีมุฮัมมัด(ศ็อลฯ) เหตุการณ์ทำนองเดียวกันนี้เกิดขึ้นอีก ขณะที่กองทหารของท่านกลับจากการรบที่ "บาดัร” ปรากำว่าทหารมีอาหารไม่พอกิน ท่านสมัยนบีมุฮัมมัด(ศ็อลฯ) จึงใช้วิธีการของนบีนุฮฺ(อล) โดยให้ทุกคนเอาข้าวของที่รับประทานได้มากวนเข้าด้วยกันแล้วแบ่งกันรับประทานในหมู่ทหารทั้งปวง ประเพณีดังกล่าวจึงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

ความสำคัญ

การกวนข้าวอาซูรอ (ขนมอาซูรอ) เป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
คำว่า "อาซูฃรอ” เป็นภาษาอาหรับ หมายถึงวันที่ ๑๐ ของเดือนมูฮรอม อันเป็นเดือนแรกของปฏิทินอาหรับ ซึ่งเป็นเดือนทางศักราชอิสลาม มีรากศัพท์มาจากภาษาอาหรับ แปลว่า การผสมหรือรวมกัน หมายถึง คือการนำสิ่งของที่รับประทานได้หลายสิ่งหลายอย่างมารวมกัน มีทั้งชนิดคาวและชนิดหวาน การกวนอาซูรอมิได้เป็นพิธีกรรมหรือศาสนกิจที่บังคับให้ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามต้องปฏิบัติ แต่เป็นกิจกรรมที่ปฏิบัติเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต การกวนข้าวอาซูรอจะใช้คนในหมู่บ้านมาช่วยกันคนละไม้คนละมือ เพื่อความสามัคคีและสร้างความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน อันมีผลต่อการอยู่ร่วมกันของสังคมอย่างมีความสุข ก่อนจะแจกจ่ายให้คนทั่วไปรับประทานกัน

          การกวนอาซูรอ หรือประเพณีทำบุญอาซูเราะ จัดให้มีในวันที่ ๙-๑๐ ของเดือนมุหัรร็อม (เป็นเดือนที่ ๑ ตามปฏิทินอิสลาม) จะนิยมให้มีขึ้นในฤดูกาลที่ว่างเว้นจากการทำนา ทำไร่ เป็นวันทำบุญร่วมกันทั้งหมู่บ้าน โดยจะไปทำกันที่มัสยิด เป็นกิจกรรมที่ทำขึ้นเพื่อแสดงออกถึงความศรัทธาของมุสลิมที่มีต่อพระเจ้า ปรุงอาหารที่มีของสดและของแห้งมารวมกัน อาจเป็นพวกเผือก มัน ฟักทอง กล้วย หรือข้าวโพดก็ได้ สิ่งสำคัญคือต้องเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อาหารชนิดใหม่นี้เรียกว่า "ฮาราล” เป็นอาหารที่ศาสดาอนุมัติให้รับประทานได้ เมื่อปรุงเสร็จแล้วจึงนำมาแจกจ่ายให้ทุกคนรับประทาน ประเพณีนี้ได้ให้คุณค่าทางด้านการระลึกถึงคุณงามความดีของท่านนบีนุห์ คุณค่าทางด้านความสามัคคี และคุณค่าทางด้านการรักษาประเพณีอันดีงามทางศาสนาเอาไว้

 

พิธีกรรมอาซูรอ

          การกวนข้าวอาซูรอ เริ่มด้วยการที่เจ้าภาพประกาศเชิญชวนนัดหมายให้ชาวบ้านทราบว่า จะมีการกวนข้าวอาซูรอกันที่ไหน เมื่อใด เมื่อถึงกำหนดนัดหมาย ชาวบ้านก็จะนำอาหารดิบ เช่น เผือกมัน ฟักทอง มะละกอ กล้วย ข้าวสาร ถั่ว เป็นต้น มารวมเข้าด้วยกันแล้วปอกหั่น ตัดให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย จากนั้นนำเครื่องปรุง เช่น ข่า ตะไคร้ หอม กระเทียม ผักชี ยี่หร่า เกลือ น้ำตาล กะทิ เป็นต้น มาเป็นเครื่องผสม โดยหั่นตัดให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ เช่นเดียวกัน สำหรับกะทิจะคั้นเฉพาะนำมาผสม ก่อนจะแจกจ่ายอาซูรอให้รับประทานกัน มีพิธีกรรมเชิญบุคคลที่นับถือของขุมชน เช่น อิหม่าม โต๊ะครูหรือบุคคลที่ได้ศึกษาด้านศาสนาขั้นสูงสุดของชุมชน ขึ้นมากล่าวขอพร (ดูอา) ก่อน แล้วจึงแจกจ่ายให้คนทั่วไปรับประทานกัน

ประโยชน์ของภูมิปัญญ

          ๑. ใช้เป็นอาหารเหมาะกับการจัดงานต่าง ๆ แต่ขนมอาซูรอจะนิยมทำในเดือนมูฮัรรอมทางศาสนาอิสลาม

          ๒. เหมาะกับการจัดงานที่ใหญ่โต เพราะขนมอาซูรอจะทำแต่ละครั้งต้องอาศัยผู้คนมากทำครั้งเดียวแต่รับประทานกันหลายคน

          ๓. จากการจัดกิจกรรมนี้ (ขนมอาซูรอ) ทำให้ประชาชนในหมู่บ้านเกิดความสมัครสมานสามัคคีขึ้น

 

ประเพณีการกวนขนมอาซูรอกับความเชื่อ

            เริ่มด้วยการที่เจ้าภาพประกาศเชิญชวนนัดหมายให้ชาวบ้านทราบว่าจะมีการกวนข้าวอาซูรอกันที่ไหน เมื่อใด เมื่อถึงกำหนดนัดหมายชาวบ้านก็จะนำอาหารดิบอันเป็นเครื่องปรุงชนิดต่าง ๆ มารวมกัน เมื่อเสร็จแล้วจะกล่าวขอพรพระเจ้าแล้วจึงแบ่งขนมไปกินกัน ขนมอาซูรอจะแบ่งเป็น ๒ ประเภทคือ ของคาวและของหวาน เครื่องปรุงของคาวได้แก่ เนื้อไก่ แป้ง เกลือ มัน พริกไทย กะทิ และเครื่องสมุนไพรอื่น ๆ แล้วแต่สูตรของแต่ ละแห่ง ส่วนของหวานจะประกอบด้วย แป้ง กะทิ น้ำตาล ผลไม้ตามฤดูกาล เช่นข้าวโพด มัน กล้วย ลำไย ฟักทอง ถั่วดำ ข้าวเหนียวดำ ฯลฯ โดยจะนำของทุกอย่างมารวมกันในกระทะใบใหญ่แล้วกวนโดยใช้ไม้กวน เพื่อให้สิ่งของทุกอย่างเปื่อยยุ่ยเข้าเป็นเนื้อเดียวกันใช้เวลากวนไม่ต่ำกว่า ๕ ชั่วโมง กวนให้งวดเป็นเนื้อเดียวกันตักใส่ถาดตกแต่งหน้าให้สวยรอให้เย็นแล้วตัดแจกจ่ายแบ่งปันกันอย่างทั่วถึง


 ขนม "อาซูรอ" 1 ปีมีกินครั้งเดียว | 01-09-63 | ตะลอนข่าว

อ้างอิง  https://www.m-culture.go.th/phatthalung/ewt_news.php?

ที่มา https://www.m-culture.go.th/phatthalung/ewt_news.php?nid=3303&filename=index

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 16

 ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 16

ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ (Online Learning Management System)

วันที่ 7 ตุลาคม 2564
ร่วมกันจัดทำเล่มรายงาน





         ภายในกลุ่มช่วยกันทำงาน ในส่วนที่ตนเองได้รับมอบหมายถ้ารู้สึกไม่เข้าใจก็สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแชร์ร่วมกัน เพื่อให้เกิดการทำงานอย่างรวดเร็ว ซึ่งในครั้งนี้ได้เริ่มทำในบทที่ 4, 5 และภาคผนวก 
        บทที่ 4 ผลการศึกษา มีรายละเอียด ดังนี้
1.ผลการพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง 
ผลการประเมินบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง 
        บทที่ 5  สรุป และข้อเสนอแนะ มีรายละเอียด ดังนี้
1. เกริ่นนำ 
2. ความสำคัญ
3. วัตถุประสงค์
4. ขั้นตอนการศึกษาโครงงาน
5. สรุปผลการศึกษา
6. ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน
7. แนวทางการนำไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพครู
8. ข้อเสนอแนะ

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 15

 ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 15

ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ (Online Learning Management System)

วันที่ 30 กันยายน 2564 

ร่วมกันพัฒนาบทเรียน E-lerning 



           สมาชิกทุกคนร่วมกันทำงานใน Google Meet เพื่อให้ง่ายต่อการประสานงาน พิจารณาดูว่ามีส่วนไหนที่ต้องเพิ่มหรือแก้ไข และได้มีการปรึกษาพูดคุยในส่วนของการเขียนโครงงานในบทที่ 4,5 บรรณานุกรม และภาคผนวก เพื่อให้การทำงานรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 12

 ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 12

ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ (Online Learning Management System)

วันที่ 9 กันยายน 2564

            ปรึกษาหารือ และช่วยกันทำงานภายในกลุ่ม

             ร่วมกันแสดงความคิดเห็น ว่าจะจัดวางองค์ประกอบอย่างไร มีการเพิ่มเนื้อหาบทเรียนบางส่วน และใส่เนื้อหาบทที่ 2-3 ลงในสไลด์เพื่อที่จะได้นำเสนอความก้าวหน้าในสัปดาห์ถัดไป

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 14

 ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 14

ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ (Online Learning Management System)

วันที่ 23 กันยายน 2564

ร่วมกันพัฒนาบทเรียน E-lerning 

            มาชิกในกลุ่มได้มีการทำงานร่วมกัน ผ่าน Google Meet  มีการเพิ่มเนื้อหาขของข้อมูลในส่วนต่าง ๆ ในระบบให้ครบสมบูรณ์อย่างที่ได้กำหนดไว้ 

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 13

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 13
ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ (Online Learning Management System)

วันที่ 16 กันยายน 2564

        นำเสนอความก้าวหน้าของโครงการ การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง เรื่อง ระบบคอมพิวเตอร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2" โดยนำเสนอเนื้อหาบทที่ 2 และบทที่ 3

        











        

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 11

 ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 11

ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ (Online Learning Management System


        วันที่ 2 กันยายน 2564 

                    ปรึกษาหารือ และช่วยกันทำงานภายในกลุ่ม

   


            เนื่องด้วยสถานการณ์โควิดทำให้ไม่สามารถมารวมตัว และนั่งทำงานด้วยกันได้ แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรค เพราะเราทำงานออนไล์ โดยการวีดิโอหากันใน Zoom และแชร์เนื้อหาข้อมูลผ่านหน้าจอ 




    ร่วมกันพิจารณาแก้ไขเนื้อหา บทที่ 2  ทฤษฎี และเอกสารที่เกี่ยวข้อง และบทที่ 3  วิธีดำเนินการศึกษา


ประเพณีการกวนข้าวอาซูรอ

ประเพณีการกวนข้าวอาซูรอ ประวัติความเป็นมา           การกวนข้าวอาซูรอ หรือการกวนขนมอาซูรอ สืบเนื่องมาแต่สมัยนบีนุฮฺ(อล) สมัยนั้นเกิดภาวะน้ำท่...