ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 2

  

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 2

ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ (Online Learning Management System)





อาจารย์ได้จัดการเรียนการสอนคาบแรกวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 โดยให้นักศึกษาเข้าไปศึกษาในระบบอีเลิร์นนิ่ง (http://elearning.yru.ac.th) เรียนออนไลน์ผ่าน Zoom และอาจารย์ได้หมอบหมายให้พื่อบันทีกผลการเรียนรู้ในแต่ลละครั้งใน weblog ของนักศึกษาแต่ละบุคล และได้แบ่งกลุ่มทำโครงงาน (Project-base Learning: PjBL) ภาคเรียนที่ 1/64

อาจารย์ได้อธิบายถึงความหมาย ความแตกต่างระหว่างการเรียนการสอนกับการเรียนรู้

อาจารย์ได้อธิบายองค์ประกอบและลักษณะสําคัญของระบบการเรียนการสอนรูปแบบต่าง ๆ

อาจารย์ได้อธิบายความหมาย องค์ประกอบ แนวโน้มสําคัญของการเรียนรู้ออนไลน์ และเปรียบเทียบข้อดี ข้อจํากัดของการเรียนรู้ออนไลน

                   
         

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 1

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 1
ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ (Online Learning Management System)
 


   อาจารย์มอบหมายให้นักศึกษาแต่ละคนสร้างและพัฒนาเว็บบล็อกเดิมที่มีอยู่แล้ว และให้สรุปผลการเรียนรู้ประจำ บทที่ 1 

          โดยสรุปดังนี้ การเรียน คือ การได้รับความรู้ พฤติกรรม ทักษะ คุณค่า และเป็นสิ่งแปลกใหม่หรือปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ การเรียนรู้อาจมีการยึดเป้าหมาย

            การสอน หมายถึง การถ่ายทอดเนื้อหาวิชาหรือเป็นวิธีการหลากหลาย ที่ครูหรือผู้สอนนำมาใช้เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้

          การเรียนการสอน เป็นการได้รับความรู้ พฤติกรรม ทักษะ คุณค่า หรือความพึงพอใจที่เป็น สิ่งแปลกใหม่ ด้วยวิธีการถ่ายทอด หรือ วิธีการสอนที่หลากหลายรูปแบบ 

      ลักษณะของการจัดการเรียนรู้  

การจัดการเรียนรู้มีลักษณะที่เด่นชัดอยู่ 3 ลักษณะ

              1. การจัดการเรียนรู้เป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน

              2. การจัดการเรียนรู้มีจุดประสงค์ให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่                             กำหนดไว้ มี 3 ด้าน

                    1 ด้านความรู้ความคิด หรือด้านพุทธิพิสัย

                    2 ด้านทักษะกระบวนการ หรือด้านทักษะพิสัย

                    3 ด้านเจตคติหรือด้านจิตพิสัย 

               3. การจัดการเรียนรู้จะบรรลุจุดประสงค์ได้ดีต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ของ ผู้สอน

        องค์ประกอบของระบบการเรียนการสอน 

          1. ตัวป้อน ( Input ) คือ ส่วนประกอบต่าง ๆ ที่นำเข้าสู่ระบบได้แก่ ผู้สอน ผู้เรียน หลักสูตร

          2. กระบวนการ (Process)  การดำเนินการสอน ได้แก่ การตรวจสอบและเสริมพื้นฐาน ความพร้อมในการเรียน การใช้เทคนิคการสอนต่าง ๆ 

          3. ผลผลิต (Output) ผลที่เกิดขึ้นหรือเป้าหมายปลายทางของระบบ เป็นการพัฒนาในด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และด้านทักษะพิสัย 

                         ทฤษฎีระบบการเรียนการสอน: ทฤษฎีการเรียนร้ ู(Learning Theories) 

              กลุ่มสังคมนิยม เน้นการเรียนรู้จากคนอื่น ๆ และเครือข่ายในสังคม ความรู้ไม่ได้เกิดเพียงเฉพาะ             ผู้เรียนเท่านั้น แต่เกิดจากสังคมที่มีการ แลกเปลี่ยน การทํางานร่วมกัน และเกิดการสังเกตและเรียนรู้

               กลุ่มประสบการณ์นิยม เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ ได้เผชิญและลงมือปฏิบัติ โดยใช้                     ประสบการณ์เดิมเป็นฐาน 

             กลุ่มสร้างสรรค์ความรู้ เน้นกระบวนการเชื่อมโยงความรู้เดิม สร้าง ความรู้ใหม่ของผู้เรียนเอง                ด้วยกระบวนการทางปัญญาของผู้เรียนเอง และกําหนดเป้าหมายการเรียนรู้ 

  กลุ่มปัญญานิยม เน้นกระบวนการสร้างองค์ความรู้เกิดจาก กิจกรรมทางสมองและการคิด เช่นความจํา แรงจูงใจ การคิดและ การตอบสนอง การถ่ายโอนความรู้จากผู้เชี่ยวชาญสู่ผู้เรียน

            กลุ่มพฤติกรรมนิยม เน้นการสร้างสถานการณ์เงื่อนไขเพื่อให้ ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมตอบสนอง             การตอบสนองเป็นการเรียนรู้

ประเพณีการกวนข้าวอาซูรอ

ประเพณีการกวนข้าวอาซูรอ ประวัติความเป็นมา           การกวนข้าวอาซูรอ หรือการกวนขนมอาซูรอ สืบเนื่องมาแต่สมัยนบีนุฮฺ(อล) สมัยนั้นเกิดภาวะน้ำท่...