ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 4

 ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 4

ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ (Online Learning Management System)

                คาบที่ 3  วันที่ 15 กรกฎาคม 2564

                การจัดการเรียนการสอน มีดังนี้


                 1. อาจารย์มอบหมายให้นักศึกษาร่วมกันอภิปราย (Discuss) : แนวโน้มของการเรียนออนไลน์ ในบทที่ 1                     
                 2. 
ทำแบบทดสอบหลังเรียน บทที่ 2
                 3. เล่นเกม Kahoot เพื่อทบทวนเนื้อหา บทที่ 2 ซึ่งอาจารย์และนักศึกษาร่วมกันสรุปบทเรียนจากข้อคำถามในเกม Kahoot 
                 4. จัดการเรียนการสอน บทที่ 3 อีเลิร์นนิ่งและระบบจัดการ โดยใช้ห้องเรียน Zoom Conference เนื้อหาในบทเรียน มีดังนี้

              การเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิ่ง หมายถึง การใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางการสื่อสารการเรียนการสอน

โดยมีการกำหนดกิจกรรมการเรียน และการสอนที่ออกแบบด้วยวิธีสอนหลากหลาย มีการนําเสนอเนื้อหา สื่อแบบดิจิตอล การสื่อสาร การมีปฏิสัมพันธ์ และการวัดประเมินผลผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

รูปแบบอีเลิร์นนิง



ระบบสนับสนุนการเรียน
    ระบบสนับสนุนการเรียนอีเลิร์นนิง แบ่งเป็น 3 ระบบ คือ

          1. ระบบสนับสนุนการเรียนด้านเทคนิค (Technical support)

          2. ระบบสนับสนุนการเรียนด้านวิชาการ (Academic support)

          3. ระบบสนับสนุนด้านสังคม (Social support) 


ข้อดีของการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิง

          1. ความยืดหยุ่น ความสะดวกสบายและการเข้าถึงข้อมูล

          2. ระยะเวลา การเรียนอีเลิร์นนิงช่วยประหยัดเวลา

          3. การเงิน และค่าใช้จ่าย การเรียนอีเลิร์นนิงช่วยผู้เรียนประหยัด


ข้อจํากัดการเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิง

          1. โครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีซึ่งอาจจะไม่สามารถใช้ได้ในบางพื้นที่ของประเทศ

          2. การออกกลางคันระหว่างเรียนแบบอีเลิร์นนิง เนื่องจากผู้เรียนบางคนอาจอาจจะรู้สึกเหงาและโดดเดี่ยวจากอาจารย์ผู้สอนและเพื่อนร่วมชั้น


         ดังนั้น การจัดเรียนการสอนแบบอีเลิร์นนิง ควรมีการวิเคราะห์บริบทต่าง ๆ ในรอบด้านก่อนว่าสถานศึกษามีความพร้อมที่จะจัดการเรียนแบบใดจึงจะเหมาะสมที่สุด ทั้งนี้การจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันต้องยอมรับว่าการเรียนโดยเพิ่มช่องทางการสื่อสารการเรียนรู้แก่ผู้เรียนนั้น เป็นวิธีที่เหมาะสมกับยุคสมัย และยังเอื้ออํานวยต่อบริบทของสังคมในขณะนี้เป็นอย่างยิ่ง


                 




ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 3


ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 3

ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ (Online Learning Management System)

              คาบที่ 2  วันที่ 8 กรกฎาคม 2564
                       กิจกรรมการเรียนออนไลน์ ผ่านระบบอีเลิร์นนิ่ง (http://elearning.yru.ac.th) มีดังนี้
                             1. ทบทวนเนื้อหาบทที่ 1 และทำแบบทดสอบหลังเรียน บทที่ 1 บทนำ
                             2. อาจารย์และนักศึกษาร่วมกันทบทวนความรู้บทที่ 1 ผ่านการเล่นเกมส์ Kahoot โดยนักศึกษา
                       เป็นผู้เล่น และอาจารย์เป็นผู้ควบคุมดำเนินการเล่นเกมพร้อมอธิบายประกอบเนื้อหาในแต่ละข้อ


                            3. ทำกิจกรรมแบบทดสอบก่อนเรียนบทที่ 2 
                            4. อาจารย์จัดการเรียนการสอน บทที่ 2 โดยใช้ห้องเรียน Zoom Conference

 การจัดการเรียนการสอนตามแนว Constructivism

             การจัดการเรียนการสอนตามแนว Constructivism หมายถึง การเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ว่าเน้นกระบวนการที่นักเรียนเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเองเป็นสำคัญ ครูผู้สอนจะเป็นเพียงผู้ทำหน้าที่จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ศึกษาด้วยตนเองมากกว่าที่จะเป็นผู้บอกเล่าให้นักเรียนจดจำ

เงื่อนไขของ Constructivism
          1. การเรียนรู้เป็น Active Process ที่เกิดขึ้นเฉพาะตัวบุคคล การสอนโดยวิธีบอกเล่าเป็นแบบ Passive Process ไม่ช่วยให้เกิดการพัฒนาแนวคิดหลักมากนัก
          2. ความรู้ต่าง ๆ จะถูกสร้างขึ้นด้วยตัวของนักเรียนเอง โดยใช้ข้อมูลที่ได้รับมาใหม่กับข้อมูลเก่าหรือความรู้ที่มีอยู่แล้ว มาเป็นเกณฑ์ช่วยในการตัดสินใจ
          3. ความรู้และความเชื่อของแต่ละคนจะต่างกันขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม
          4. ความเข้าใจจะแตกต่างจากความเชื่อโดยสิ้นเชิง

การจัดการเรียนรู้ผู้สอน ของ Constructivism

          1. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสังเกต สำรวจเพื่อให้เห็นปัญญา
          2. มีปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน เช่น ถามให้คิด หรือสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง
          3. ช่วยให้ผู้เรียนคิดค้นต่อ ๆ ไป ให้ทำงานเป็นกลุ่ม
          4. ประเมินความคิดรวบยอดของผู้เรียน ตรวจสอบความคิดและทักษะการคิดต่าง ๆ การปฏิบัติการแก้ปัญหา
          5. พัฒนาให้เคารพความคิดและเหตุผลของผู้อื่น


ประเพณีการกวนข้าวอาซูรอ

ประเพณีการกวนข้าวอาซูรอ ประวัติความเป็นมา           การกวนข้าวอาซูรอ หรือการกวนขนมอาซูรอ สืบเนื่องมาแต่สมัยนบีนุฮฺ(อล) สมัยนั้นเกิดภาวะน้ำท่...